วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

สัปดาห์ที่ 16 Wireless LAN คืออะไร

แลนไร้สายหรือ ไวเลสแลน (Wireless LAN, WLAN) คือระบบที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายภายในพื้นที่แบบไร้สาย โดยใช้คลื่นความถี่วิทยุใน การเชื่อมต่อหรือสื่อสารกัน การเชื่อมต่อแลนไร้สายมีทั้งแบบเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกัน และเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านอุปกรณ์กระจายสัญญาณ (Access Point)
นิยาม
ไวเลส (Wireless) คือ ไม่มีสาย ลองนึกภาพถึงแลนปกติที่เชื่อมต่อกันระหว่างคอมพิวเตอร์กับสวิตซ์ (Switch) หรือฮับ (Hub) ด้วยสายสัญญาณที่เรียกว่า สาย UTP แต่ไวเลส คือการเชื่อมต่อที่ไม่มีมีสายแลนนั่นเอง
แลน (LAN) คือระบบที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายภายในพื้นที่ เช่นระบบแลนภายในบ้าน ในบริษัทหรือองค์กร ในมหาวิทยาลัย เป็นต้น
มาตราฐานความเร็วของแลนไร้สาย ความเร็วที่ใช้ในการสื่อสารกันหรือเชื่อมต่อกัน มีมาตราฐานรองรับ เช่น IEEE 802.11a, b และ g ซึ่งแต่ละมาตราฐานจะบอกถึงความเร็วและคลื่นความถี่ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร กัน เช่น
สำหรับมาตรฐาน IEEE 802.11a มีความเร็วสูงสุดที่ 54 Mbps ที่ความถึ่ย่าน 5 GHz
สำหรับมาตรฐาน IEEE 802.11b มีความเร็วสูงสุดที่ 11 Mbps ที่ความถี่ย่าน 2.4 GHz
สำหรับมาตรฐาน IEEE 802.11g มีความเร็วสูงสุดที่ 54 Mbps ที่ความถี่ย่าน 2.4 GHz
ในประเทศไทยอนุญาตให้ใช้ช่องคลื่นความถี่ที่ 2.4 GHz เป็นคลื่นความถี่เสรี ที่ทุกคนสามารถติดตั้งและใช้งานได้ จึงทำให้ในประเทศไทยจะมีอุปกรณ์กระจายสัญญาณ (Access Point) ที่จำหน่ายเพียงสองมาตราฐานคือ IEEE 802.11b และ g เท่านั้น

วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2553

สัปดาห์ที่ 15 ชนิดของไวรัสคอมพิวเตอร์

บูตไวรัสบูตไวรัส (boot virus)

คือไวรัสคอมพิวเตอร์ที่แพร่เข้าสู่เป้าหมายในระหว่างเริ่มทำการบูตเครื่อง ส่วนมาก มันจะติดต่อเข้าสู่แผ่นฟลอปปี้ดิสก์ระหว่างกำลังสั่งปิดเครื่อง เมื่อนำแผ่นที่ติดไวรัสนี้ไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ไวรัสก็จะเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ตอนเริ่มทำงานทันทีบูตไวรัสจะ ติดต่อเข้าไปอยู่ส่วนหัวสุดของฮาร์ดดิสก์ ที่มาสเตอร์บูตเรคคอร์ด (master boot record) และก็จะโหลดตัวเองเข้าไปสู่หน่วยความจำก่อนที่ระบบปฏิบัติการจะเริ่มทำงาน ทำให้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นไฟล์ไวรัส

ไฟล์ไวรัส (file virus)

ใช้เรียกไวรัสที่ติดไฟล์โปรแกรม เช่นโปรแกรมที่ดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ต นามสกุล.exe โปรแกรมประเภทแชร์แวร์เป็นต้น

มาโครไวรัสมาโครไวรัส (macro virus)

คือไวรัสที่ติดไฟล์เอกสารชนิดต่างๆ ซึ่งมีความสามารถในการใส่คำสั่งมาโครสำหรับทำงานอัตโนมัติในไฟล์เอกสารด้วย ตัวอย่างเอกสารที่สามารถติดไวรัสได้ เช่น ไฟล์ไมโครซอฟท์เวิร์ด ไมโครซอฟท์เอ็กเซล เป็นต้น

หนอน (Worm)

เป็นรูปแบบหนึ่งของไวรัส มีความสามารถในการทำลายระบบในเครื่องคอมพิวเตอร์สูงที่สุดในบรรดาไวรัสทั้ง หมด สามารถกระจายตัวได้รวดเร็ว ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งสาเหตุที่เรียกว่าหนอนนั้น คงจะเป็นลักษณะของการกระจายและทำลาย ที่คล้ายกับหนอนกินผลไม้ ที่สามารถกระจายตัวได้มากมาย รวดเร็ว และเมื่อยิ่งเพิ่มจำนวนมากขึ้น ระดับการทำลายล้างยิ่งสูงขึ้นอื่นๆ

โทรจัน (Trojan)

คือโปรแกรมจำพวกหนึ่งที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อแอบแฝง กระทำการบางอย่าง ในเครื่องของเรา จากผู้ที่ไม่หวังดี ชื่อเรียกของโปรแกรมจำพวกนี้ มาจากตำนานของม้าไม้แห่งเมืองทรอยนั่นเอง ซึ่งการติดนั้น ไม่เหมือนกับไวรัส และหนอน ที่จะกระจายตัวได้ด้วยตัวมันเอง แต่โทรจัน (คอมพิวเตอร์)จะถูกแนบมากับ อีการ์ด อีเมล์ หรือโปรแกรมที่มีให้ดาวน์โหลดตามอินเทอร์เน็ตในเว็บไซต์ใต้ดิน และสุดท้ายที่มันต่างกับไวรัสและเวิร์ม คือ มันจะสามารถเข้ามาในเครื่องของเรา โดยที่เราเป็นผู้รับมันมาโดยไม่รู้ตัวนั่นเอง

วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2553

สัปดาห์ที่ 14 ก า ร เ ซ็ ต B I O S

BIOS (Basic Input/Output System) คือ Chip ROM (EPROM : Erasable Programmable Read-Only Memory) Bios เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมฮาร์ดแวร์ในการ Boot คอมพิวเตอร์ โดยทุกครั้งเมื่อเราเปลี่ยนเครื่องอ่านข้อมูล ไม่ว่า Floppy Disk Drive , Hard Disk Drive และ Cd-Rom Drive โดยเฉพาะฮาร์ดดิสก์ เมื่อต่อเพิ่มหรือถอดออก จะต้องบอกให้ BIOS รับรู้ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการ Boot เครื่อง เพื่อเข้าสู่โปรแกรม Windows หรือ OS ต่อไป












BIOS (Basic Input/Output System), CMOS (Complementary Metal Oxide Semiconductor)
ขั้นตอนการทำงานของ BIOS


1.
เมื่อเปิดเครื่อง BIOS จะตรวจสอบอุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็นต่อการใช้งาน เช่น คีย์บอร์ด , ดิสก์ไดรฟ์, จอภาพ, หน่วยความจำ ฯลฯ หากมีอุปกรณ์ใดอุปกรณ์หนึ่งทำงานไม่ถูกต้อง จะแจ้งข้อผิดพลาดให้ทราบทั้งในลักษณะข้อความ (หากจอภาพทำงานได้) และเสียง beep หากจอภาพทำงานไม่ได้
2.
โหลดค่ากำหนดเกี่ยวกับอุปกรณ์ต่างๆ ขึ้นมาใช้งาน โดยค่าต่างๆ เหล่านี้จะถูกเก็บไว้ใน CMOS ซึ่งผู้ใ้ช้สามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยผ่าน SETUP
3.
โหลดระบบปฏิบัติการที่ติดตั้งไว้ในดิสก์ขึ้นมาทำงาน
4.
เมื่อระบบปฏิบัติการเิริ่มทำงาน นั่นคือคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นจะอยู่ในสภาพที่พร้อมสำหรับการใช้งานแล้ว ส่วน BIOS จะทำหน้าที่ให้บริการต่างๆ ต่อระบบปฏิบัติการอยู่เบื้องหลัง เช่น การอ่าน-เขียนข้อมูลจากดิสก์, เปิดจอภาพเมื่อผู้ใช้ไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานานๆ ฯลฯ
5.
เมื่อต้องการปิดเครื่อง BIOS จะปิดการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งหมดรวมถึงตัดกระแสไฟที่จ่ายให้ power supply ด้วย ค่ากำหนดต่างๆ ที่เก็บไว้ใน CMOS จะไม่หายไป เมื่อผู้ใช้เปิดเครื่องขึ้นมาใหม่ การทำงานจะวนรอบกลับไปยังขั้นตอนที่ 1 ทันที ดังจะเห็นได้ว่าการทำงานของ BIOS มีผลต่อการทำงานของคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา หาก BIOS ได้รับการปรับตั้งไม่ถูกต้อง หรือปรับตั้งไว้ไม่ดี จะทำให้คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นทำงานได้ไม่ถูกต้อง, ไม่เต็มประสิทธิภาพ หรือแม้แต่ใช้งานไม่ได้เลยก็เป็นได้


POST ขั้นตอนสำคัญของการเริ่มต้นระบบ


เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ BIOS จะเข้าสู่ขั้นตอนที่เรียกว่า POST (Power-On Self Test) ซึ่งเป็นการตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีในคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นเอง สาเหตุที่ต้องตรวจสอบก่อนก็เพราะคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีอุปกรณ์ไม่เหมือนกัน อีกทั้งผู้ใช้ยังสามารถเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์เหล่านี้ได้โดยอิสระอีกด้วย ดังนั้นย่อมเป็นการดีที่จะมาตรวจสอบกันก่อนเริ่มต้นทำงาน ในกรณีที่เจอข้อผิดพลาดก็ยังสามารถรายงานให้ผู้ใช้ทราบ และแก้ไขได้อย่างถูกต้อง


4 ขั้นตอนกcารทำงานของ POST


ใน BIOS ใดๆ แม้จะต่างยี่ห้อ ต่างบริษัทกัน โดยส่วนใหญ่จะมีขั้นตอน POST ที่คล้ายๆ กัน 4 ขั้นตอน ดังนี้

1.
แสดงข้อความเริ่มต้นของการ์ดแสดงผล ซึ่งปกติจะขึ้นอยู่กับชนิดของการ์ดแสดงผลที่ติดตั้งอยู่ในคอมพิวเตอร์นั้นๆ โดยอาจแสดงชื่อบริษัท-โลโก้ของผู้ผลิต, ชื่อรุ่น, ขนาดของหน่วยความจำ ฯลฯ หรือในบางรุ่นอาจไม่แสดงข้อความใดๆ ในขั้นตอนนี้เลยก็ได้
2.
แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับ BIOS รวมถึงหมายเลขอ้างอิงสำหรับผู้ผลิตเมนบอร์ดและข้อความอื่นๆ จากภาพที่ 2-2 เป็น BIOS ของ Award บนเมนบอร์ดซึ่งใช้ชิปเซ็ต Intel 430HX
3.
ตรวจสอบและนับจำนวนหน่วยความจำ รวมทั้งเริ่มการทำงานของอุปกรณ์ประเภทดิสก์ไดรฟ์
4.
เมื่อสิ้นสุดการทำงานของ POST แล้ว บนหน้าจอจะแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์พื้นฐานทั้งหมด จากนั้นจึงโหลดระบบปฏิบัติการจากดิสก์ที่กำหนด (ผ่านทาง SETUP ) มาทำงานต่อไป


ข้อแนะนำ


Bios ที่ใช้กันแพร่หลายมี 2 ค่าย คือ Award และ Ami แต่มีหลายเวอร์ชั่น การ Set Bios แต่ละรุ่นจึงต้องอาศัยความเข้าใจมากกว่าการ


ตัวอย่างหน้าจอ Bios Setup ของ Award และ Ami









การเข้าโปรแกรม Bios



เมื่อเปิดเครื่องแล้ว ให้กดปุ่ม Delete ไปเรื่อยๆ จนเข้าโปรแกรม Bios โดยบางรุ่นจะใช้ Ctrl+Esc จะขึ้นหน้าจอ ดังรูป






Standard CMos Setup


Date กำหนดวันที่
Time กำหนดเวลา
Primary Master กำหนดฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ Boot Windows และลงโปรแกรม
Primary Slave กำหนดฮาร์ดดิสก์ที่ใช้เก็บข้อมูล
Secondary Master กำหนดฮาร์ดดิสก์ที่ใช้เก็บข้อมูล
Secondary Slave กำหนดฮาร์ดดิสก์ที่ใช้เก็บข้อมูล
Drive A กำหนด Floppy Disk



Bios Feathers Setup

Boot Sequence กำหนดลำดับการ Boot เครื่อง ควรตั้งไว้ A: , C: เพื่อสามารถใช้การ Boot จากแผ่น Startup Disk ได้



IDE HDD Auto Detection

สำหรับค้นหาฮาร์ดดิสก์แบบอัตโนมัติ โดยจะค้นหา Primary Master , Primary Slave , Secondary Master , Secondary Slave ตามลำดับ โดยให้เราตอบ Y ในแต่ละขั้นตอนที่ต้องการ ถ้าในขั้นตอนนี้ไม่สามารถค้นหาฮาร์ดดิสก์ที่เราติดตั้งไว้ได้ ต้องตรวจสอบการต่อฮาร์ดดิสก์ให้ถูกต้องอีกครั้ง






Save & Setting Setup

แน่่นอนเมื่อตั้งค่าต่างๆ ตามที่เราต้องการแล้ว ก็ต้อง Save ไว้ ให้ตอบ Y แล้ว Enter





Boot ใช้งานตามต้องการได้ต่อไป




















สัปดาห์ที่ 13 ก า ร เ ลื อ ก ซื้ อ S c a n n e r

Scanner คืออุปกรณ์สำหรับ Scan ภาพ หรือ วัสดุ เพื่อเข้าสู่คอมฯ ถือว่าเป็นอุปกรณ์หลัก ๆ อีกชิ้นหนึ่งของระบบคอมฯ ปัจจุบันมีมากมายหลายยี่ห้อและราคา การเลือกซื้อไม่ยุ่งยากเท่ากับเลือกซื้อคอมฯ เนื่องจากคุณสมบัติทั่วๆ มีไม่มาก ลองศึกษา ดูจากรายละเอียดดังนี้
ประเภทของสแกนเนอร์




1.สแกนเนอร์แท่นเรียบ - Flatbed Scannerสแกนได้ครั้งละ 1 แผ่น เพียงวางกระดาษที่ต้องการสแกน คว่ำหน้าลง และเรียกโปรแกรมสำหรับสแกนขึ้นมา และเลือกคำสั่งสแกน (สแกนเนอร์แบบนี้จะให้คุณภาพการแสดงที่ดีมาก และใช้งานง่าย)


2.สแกนเนอร์ดึงกระดาษ - Sheet-Fed Scannerสแกนได้ครั้ง 1 แผ่นเช่นเดียวกัน เวลาสแกนเครื่องจะดึงกระดาษเข้าไป คล้ายเครื่องพิมพ์ ไม่เหมาะสำหรับการสแกนหนังสือ เพราะต้องฉึกกระดาษออกมา ส่วนเรื่องราคานั้นไม่ค่อยแพงนัก คุณภาพที่ได้ยังไม่ค่อยดี



3.สแกนเนอร์มือถือ - Handhelded Scannerสแกนเนอร์ที่ต้องการใช้มือลากไปยังภาพที่เราต้องการสแกน (สแกนค่อนข้างยาก) คุณภาพที่ได้ก็ไม่ค่อยดีนัก และยังต้องพึ่งความชำนาญในการลากเครื่องสแกน


เทคนิคการเลือกซื้อ


1. DPI (Dot Per Inch)dot per inch

จำนวนจุดต่อนิ้ว หมายความว่า จะ Scanner สามารถ Scan ในความละเอียดสูง ได้ และในเวลาอันสั้น หมายความว่า มีคุณภาพค่อนข้างดี แต่อย่างไรก็ตาม ยิ่ง Scan ด้วยความละเอียดสูง จะทำให้ file ที่ได้มีขนาดใหญ่และช้ามากด้วย

2.การเชื่อมต่อ

เดิมการเชื่อมต่อจะใช้ SCSI card (ส่วนใหญ่ต้องซื้อเพิ่ม) เข้ามาเสริม เพื่อเพิ่มความเร็ว ปัจจุบันมักจะใช้ LPT หรือ USB มาเชื่อมต่อ แต่ก็ให้ความเร็วค่อนข้างดี

3. โปรแกรม

ควรมีโปรแกรมที่แถมมากับเครื่องเพื่อแก้ไขภาพ หรือถ้าต้องการ Scan ตัวอักษรแล้วต้องการแก้ไข ควรมีโปรแกรมประเภท OCR (OCR - Optical Character Recognition คือโปรแกรมที่สามารถเปลี่ยนข้อความที่เราสแกนเข้าไป เปลี่ยนเป็นข้อความที่สามารถแก้ไขได้โดยตรงด้วยโปรแกรมประเภท word) 4. ความสามารถพิเศษ สามารถ Scan ฟิล์มสไลต์, ฟิล์มเนกะทีฟ, Scan 3D หรือ3 มิติ ได้หรือไม่

วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2553

สัปดาห์ที่ 12 วิธีเลือกซื้อกล้องเว็บแคม

กล้องเว็บแคมนั้นมีหลากหลายยี่ห้องในท้องตลาด โดยจะมีราคาตั้งแต่ราคาไม่ถึง 300 บาทไปถึงหลักหลายพันบาท แต่จะเลือกซื้ออย่างไรให้ได้ตามที่เราต้องการจะนำมาใช้งาน โดยกล้องเว็บแคมจะมีความละเอียดทาง Optical ตั้งแต่ 320K Pixels จนถึง 2.0 M Pixels โดยกล้องรุ่นใหม่ๆ จะพัฒนา Software ออกมากับกล้องที่มีความละเอียด 2.0M Pixels เพื่อขยายการจับภาพนิ่ง (Still Image Capture) ให้มีขนาดใหญ่ขึ้นตั้งแต่ 5 ล้านพิกเซล ไปจนถึง 12 ล้านพิกเซล โดยความชัดของภาพที่ได้บางครั้งก็ไม่ได้วัดจากความละเอียดของกล้องอย่างเดียว โดยจะขึ้นอยู่กับคุณภาพ CMOS Sensor รับภาพของกล้องอีกด้วย
อัตรา Frame Rate มีหน่วยเป็น fps (Frame Per Second) คืออัตราแสดงผลจำนวนเฟรมของภาพต่อ 1 วินาที โดยยิ่งสูงจะยิ่งแสดงผลได้ Smooth และต่อเนื่องไม่กระตุก ซึ่งจะให้อรรถรสในการใช้งานมากกว่ากล้องที่แสดงผลช้า และกระตุกLighting LED เป็นไฟส่องสว่างที่ส่องออกมาจากหลอดไฟ LED ที่มากับกล้อง โดยทำมาเพื่อให้ใช้งานกล้องในที่ๆ มีแสงน้อย หรือย้อนแสง โดยจะช่วยให้หมดปัญหาเรื่องแสงไฟไม่เพียงพอไปได้Night Vision LED คือ อุปกรณ์ที่ผู้ผลิตกล้องเว็บแคมทำออกมาเพื่อเพิ่มความสามารถของกล้องในการใช้งานในที่ๆ มีแสงน้อง หรือไม่มีแสงเลย โดยลักษณะของ Night Vision LED จะมีลักษณะคล้ายกับหลอดไฟ LED ส่องสว่าง แต่จะไม่มีแสงสว่างออกมา โดยแสงที่ออกมาจะเป็น แสงอินฟราเรด (Infrared) จะมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น (หากต้องการเห็นแสงอินฟราเรด ให้ดูผ่านกล้องดิจิตอล หรือกล้องมือถือ) แต่หลายๆ คนมักจะไม่ได้นำกล้องเว็บแคมชนิดนี้มาใช้งานในที่มืด แต่มักจะต้องการภาพที่ดูสวย และแปลกกว่ากล้องเว็บแคมทั่วๆ ไป โดยแสงชนิดนี้จะเปลี่ยนสีของภาพให้ดูนวลมากขึ้นเมื่อใช้งานในที่ๆ มีแสงสีส้ม
ไมโครโฟน เป็นอุปกรณ์เสริมที่ผู้ผลิตกล้องเว็บแคมทำติดมากับกล้องเว็บแคม เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ใช้งานเวลาใช้สนทนาออนไลน์กับฝ่ายตรงข้าม เพื่อให้ได้ทั้งภาพ และเสียงพร้อมๆ กันโดยที่ไม่ต้องหาไมโครโฟนมาใช้งานเพิ่ม ซึ่งปัจจุบันได้มีเทคโนโลยี USB Microphone ที่ทำออกมากับกล้องรุ่นใหม่ๆ โดยข้อดีของไมโครโฟนชนิดนี้จะให้สัญญาณเสียงที่ชัดและดังกว่า เนื่องจากจะใช้กระแสไฟจาก USB Port เป็นตัวนำสัญญาณเสียง และใช้ต่อช่อง USB เพียงช่องเดียว โดยที่ไม่ต้องใช้ช่อง Microphone ของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยทั้งหมดนี้ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้งานว่าต้องการจะนำไปใช้งานแบบไหน ต้องการความชัดของภาพมากแค่ไหน งบประมาณเท่าไหร่ หรือขนาดของตัวกล้องที่เล็ก และเหมาะแก่การพกพาเพื่อนำไปใช้กับคอมพิวเตอร์ Notebook

วันอาทิตย์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2553

สัปดาห์ที่ 11 การเลือกซื้อ Sound Card






แต่เดิมเครื่องคอมพิวเตอร์การสร้างเสียงแบบธรรมดาๆ เพื่อใช้สำหรับเป็นเสียงเตือนในการทำงานเท่านั้น ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์พัฒนามากขึ้น เราจึงได้นำเสียงเข้ามาสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการศึกษาและเพื่อความบันเทิง โดยเฉพาะผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อความบันเทิงนั้นก็จะให้ความสำคัญของเสียงที่ได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์มากเป็นพิเศษ จริงอยู่ที่คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจะมีการติดตั้งวงจรสร้างเสียงหรือซาวน์ดการ์ดมาให้แล้วบนเมนบอร์ดที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ก็อย่างที่บอกว่าถ้าเป็นเรื่องของความบันเทิงที่สมบูรณ์แบบ เสียงที่ได้จากซาวน์ดการ์ดแบบออนบอร์ดนั้นคงไม่เพียงพอ
ในระบบเครื่องคอมพิวเตอร์เราจะพบเห็นซาวน์ดการ์ดได้ 2 ชนิดหลักๆ คือ ซาวน์ดการ์ดแบบสล็อตรวมไปถึงแบบที่ต่อทางพอร์ต USB ด้วย และแบบซาวน์ดการ์ดออนบอร์ด ซึ่งแบบหลังนี้จะเป็นซาวน์ดการ์ดที่เป็นแบบชิปติดตั้งอยู่บนเมนบอร์ด เพื่อให้สะดวกต่อการติดตั้งและการใช้งาน ซึ่งในปัจจุบันนี้ซาวน์ดออนบอร์ดได้รับการพัฒนาขึ้นมาก ควบคู่ไปกับการพัฒนาของซาวน์ดการ์ด ทำให้ทุกวันนี้ประสิทธิภาพการทำงานของซาวน์ดออนบอร์ดไม่ได้ต่างกับซาวการ์ดมากนัก สิ่งที่เป็นข้อด้อยของซาวน์ดออนบอร์ดก็คงจะเป็นอุปกรณ์ข้างเคียง และอุปกรณ์จำพวก DAC และ ADC ที่มักจะมีคุณภาพไม่ดีเท่าซาวน์ดการ์ด หรือโดนลดทอนอุปกรณ์บางอย่างไป
ดังนั้นหากท่านคิดตัดสินใจจะใช้ซาวน์ดการ์ดแล้วละก็ การเรียนรู้ที่จะเลือกซื้อซาวน์ดการ์ดให้เหมาะสมกับความต้องการก็เป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะซาวน์ดการ์ดนั้นมีอยู่หลายรุ่นและหลายราคา ซึ่งทำมาเพื่อตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกัน ดังนั้นการเลือกซื้อซาวน์ดการ์ดให้ได้ตามความต้องการ ก็ควรที่จะศึกษารายละเอียดของซาวน์ดการ์ดแต่ละรุ่นแต่ละแบบเพื่อนำมาเป็นพื้นฐานการตัดสินใจในการเลือกซื้อกันก่อนนะครับ
พัฒนาการของซาวน์ดการ์ด




เรามามองย้อนหลังไปในอดีต เพื่อดูความเป็นมาเป็นไปของซาวน์ดการ์ดกันสักเล็กน้อย ในยุคแรกของซาวน์ดการ์ดนั้นมีการผลิตออกมาใช้สล็อตแบบ ISA ซึ่งเป็นยุคของ PC AT/XT หรือเทียบรุ่นซีพียูก็ราวๆ 286, 386 โน่น การ์ดเสียงที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในเวลานั้นก็จะมีอยู่สองรายหรือ Roland กับทาง Adlib ส่วนชิปเสียงยอดนิยมก็ต้องเป็นของ Yamaha เสียงที่ได้จากการ์ดแบบนี้ยังมีคุณภาพของเสียงต่ำมากๆ เพราะเป็นระบบเสียงแบบ Mono แต่ก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการคิดค้นแอพพลิเคชันด้านมัลติมีเดียเลยทีเดียว เพราะเสียงที่ออกมาแม้จะเป็นแบบโมโน แต่ว่ามันสามารถสร้างเสียงพูดของคนออกมาได้ค่อนข้างชัดเจน หลังจากนั้นก็มีการพัฒนาซาวน์ดการ์ดออกมาอย่างมากมายรวมไปถึงชิปเสียงด้วย และบริษัทที่โดดเด่นมาที่สุดในเวลานั้นก็คือ Creative Labs ด้วยการเปิดตัวซาวน์ดการ์ดที่มีระบบเสียงแบบสเตริโอ ซึ่งได้ทำการยึดครองตลาดซาวน์ดการ์ดไว้ได้ทั้งโลกจนมาถึงในปัจจุบัน
มาถึงในปัจจุบัน เครื่องมือและเทคโนโลยีต่างๆ ต่างก็มีการพัฒนาขึ้นมาก รวมไปถึงมาตรฐานของสล๊อตต่างๆ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ก็เปลี่ยนไปซึ่งก็มีส่วนที่ทำให้เกิดการพัฒนารูปลักษณ์ของเจ้าซาวน์ดการ์ดออกมาในลักษณะของการ์ดแบบ PCI
เรามาดูการพัฒนาการของซาวน์ดการ์ดแบบ PCI กันบ้าง การผลิตและพัฒนาของซาวน์ดการ์ดแบบ PCI ในช่วงแรกยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรมากนักระบบเสียงก็ยังคงเป็นแบบสเตริโอ แต่อาจจะเพิ่มเรื่องของจำนวนบิตของเสียงเข้าไปเพื่อช่วยทำให้เสียงมีคุณภาพดีขึ้น ยกตัวอย่างซาวน์ดการ์ด Creative SB Vibra 128 ที่โด่งดังมากเมื่อก่อน ซึ่งมีราคาอยู่ประมาณ 1,000 บาท ถือว่ายังเป็นราคาที่แพงอยู่ในขณะนั้น จากนั้นมาก็ได้มีการพัฒนาประสิทธิการใช้ของซาวน์ดการ์ดขึ้นเรื่อยๆ จากซาวน์ดการ์ดที่เป็นแบบ 2.1 แชนแนล พัฒนาเป็นซาวน์ดการ์ดที่สนับสนุนการทำงานแบบ 4.1 แชนแนล, 5.1 แชนแนล และแบบ 6.1 แชนแนล โดยได้พัฒนาควบคู่กับการพัฒนาของลำโพงแบบต่างๆ ที่สนับสนุนการใช้งานร่วมกับซาวน์ดการ์ดนี้
ล่าสุดก็ได้มีการผลิตซาวน์ดการ์ดแบบ 7.1 แชนแนลออกมา ถือว่าเป็นสุดยอดซาวน์ดการ์ดอยู่ในขณะนี้ นับว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่สร้างความฮือฮามากที่สุดในขณะนี้ก็ได้ โดยเฉพาะบุคคลที่ชอบเสียงเพลงเป็นชีวิตจิตใจ หรือแม้กระทั่งนักดนตรีต่างๆ ต่างก็คงรอคอยซาวน์ดการ์ดแบบนี้อยู่เหมือนกัน ซึ่งสามารถให้เสียงที่สมบูรณ์แบบมากกว่าแบบต่างๆที่ได้กล่าวมา ซึ่งซาวน์ดการ์ดแบบ 7.1 ที่พึ่งเปิดในบ้านเราและสร้างความประทับใจได้มากในเวลานั้นก็คือ X-Fi ซาวน์ดการ์ดที่ใช้เทคโนโลยีประมวลผลแบบใหม่ ที่ช่วยลดภาระการทำงานของ CPU ได้มากขึ้น พร้อมระบบ CMSS-3D ที่ให้เสียงแบบเซอร์ราวดน์ได้อย่างสมจริง ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกใหม่ล่าสุดของซาวน์ดการ์ด
ชนิดของซาวน์ดการ์ดที่มีจำหน่ายในปัจจุบัน
ถ้าเราจะแบ่งชนิดของซาวน์ดการ์ดที่มีขายอยู่ในท้องตลาดทุกวันนี้ เราก็สามารถที่จะแบ่งซาวน์ดการ์ดออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ
Sound Onboard
ซาวน์ดออนบอร์ดนั้นจริงๆ มันไม่ใช่ซาวน์ดการ์ดแต่ที่นิยมเรียกกันว่า “ซาวน์ดการ์ดออนบอร์ด” ก็เพื่อสร้างความเข้าใจที่ง่ายๆ ขึ้นมาเท่านั้นเอง แต่หลังๆ เราก็เริ่มได้ยินคำนี้น้อยลงและกลับมาได้ยิ่งคำว่า “ซาวน์ดออนบอร์ด” ตามตัวอักษรที่เขียนในภาษาอังกฤษกันมากขึ้น ซาวน์ดออนบอร์ดจริงๆ แล้วมันจะประกอบไปด้วยอุปกรณ์หลักๆ คือชิป CODEC หรือชิปที่ทำหน้าที่แปลงข้อมูลจากดิจิตอลที่ประมวลผลโดยซีพียูผ่านทางตัวชิป CODEC เพื่อทำการแปลงเป็นสัญญาณเสียงแบบอนาล็อกแล้วส่งต่อไปที่คอนเน็คเตอร์ลำโพงที่ด้านหลังของเมนบอร์ดอีกที และชิป CODEC นี้ก็ทำหน้าที่แปลงสัญญาณเสียงจากช่องอินพุตไมโครโฟนมาทำการแปลงให้เป็นข้อมูลในรูปแบบดิจิตอลเพื่อให้ซีพียูทำการประมวลผลได้ต่อไป
แต่เดิมนั้นคุณภาพเสียงของซาวน์ดออนบอร์ดนั้นไม่ค่อยมีคุณภาพมากนัก เพราะสาเหตุมาจากการทำงานหรือการประมวลผลข้อมูลเสียงจริงๆ แล้วมันมาจากตัวซีพียู หมายความวาระหว่างที่เราเล่นเกม ดูหนัง ฟังเพลง นอกจากซีพียูจะทำงานประมวลผลตามโปรแกรมเกม โปรแกรมดูหนัง โปรแกรมฟังเพลงแล้ว ซีพียูยังมีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลเสียงเหล่านั้นอีกด้วย ทำให้เราไม่สามารถกำหนดข้อมูลเสียงให้มีความละเอียดหรือจำนวนบิตมากๆ ได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มภาระให้กับซีพียูมากเกินไป
แต่ในช่วงเวลาที่ผ่านมาซีพียูเองได้มีการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพในการทำงานที่สูงขึ้นอย่างมาก ซีพียูก็สามารถทำงานได้หลายอย่างพร้อมกันในเวลาเดียวกัน รวมไปถึงการเพิ่มชุดคำสั่งใหม่ๆ ทางด้านมัลติมีเดียทำให้การประมวลผลข้อมูลทางด้านเสียงดีขึ้นด้วยทำให้ซาวน์ดออนบอร์ดได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รวมไปถึงพวก CODEC และชิปเซาธ์บริจด์ที่ต้องเชื่อมต่อกับชิป CODEC เองก็มีการพัฒนาไปมาก ทำให้เสียงที่ได้จากซาวน์ดออนบอร์ดในปัจจุบันมีคุณภาพสูงพอๆ กับพวกซาวน์ดการ์ดราคาถูกหรืออาจจะดีกว่าด้วยซ้ำไป
ซาวน์ดการ์ดแบบ PCI & PCI-Express
ซาวน์ดการ์ดแบบ PCI นี้ถือว่าเป็นซาวน์ดการ์ดจริงๆ แต่ไม่ใช่ด้วยเหตุผลมันทำมาอยู่บนการ์ด แต่เป็นเพราะมันมีหน่วยประมวลผลทางด้านสัญญาณเสียงที่เรียกว่า Digital Signal Processing (DSP)ด้วยบนตัวการ์ด ส่วนคุณภาพของเสียงมันก็ขึ้นอยู่กับชิป DSP ที่อยู่บนตัวการ์ดนั่นเอง
สำหรับการเลือกซื้อซาวน์ดการ์ดแบบ PCI นั้นเป็นเรื่องไม่ยาก เลือกตามงบประมาณเลยครับ ฟังดูเหมือนเขียนแบบไม่รับผิดชอบอะไร แต่ก็ต้องบอกตรงๆ ว่าในบ้านเราตอนนี้มีซาวน์ดการ์ดให้เลือกไม่เกิน 3 ยี่ห้อครับ และก็เป็นยี่ห้อใหญ่อย่าง Creative ซะเป็นส่วนใหญ่ ส่วนเรื่องคุณภาพก็ตามงบประมาณครับ ยิ่งแพงคุณภาพเสียงก็ยิ่งดี ลูกเล่นก็ยิ่งมาก อันนี้ต้องดูด้วยว่าจะไปใช้ในงานประเภทไหน เพราะเขามีรุ่นให้เลือกใช้ตามความต้องการของผู้ใช้ครับ เช่นใช้งานทั่วไป เล่นเกม ทำดนตรี ก็อย่างที่บอกครับเลือกไปตามงบประมาณ
ที่เห็นว่ามีข่าวคึกคักอยู่พักใหญ่อาจจะเห็นเอาเข้ามาขายบ้างอย่างไม่เป็นทางการก็เห็นจะเป็นซาวน์ดการ์ดของ ASUS ครับ รุ่น Xonar ซึ่งชื่อของ ASUS ก็พอที่จะรับประกันคุณภาพได้ในระดับหนึ่งอยู่แล้ว
นอกจากซาวน์ดการ์ดที่ใช้อินเทอร์เฟสแบบ PCI แล้วตอนนี้เริ่มมีซาวน์ดแบบที่ใช้อินเทอร์เฟซ PCI-Express x1 ออกมาให้เห็นกันมากขึ้น แต่ว่ายังไม่เห็นมีขายในบ้านเรานะ บางทีอาจจะต้องรอให้สต๊อกเก่าๆ หมดไปก่อน เพราะเมนบอร์ดส่วนใหญ่ก็ยังมีสล๊อต PCI ให้ใช้กันอยู่ ความแตกต่างระหว่างซาวน์ดการ์ด PCI กับแบบ PCI-Express x1 นั้นก็มีเพียงแค่เรื่องของสล๊อตที่ใช้เสียบลงไปบนเมนบอร์ดเท่านั้นเอง
ซาวน์ดการ์ดแบบ External

จริงแล้วเราไม่ควรจะเรียกมันว่าซาวน์ดการ์ด เพราะซาวน์ดการ์ดแบบ External นั้นมันมักจะอยู่ในรูปของกล่องอะไรสักอย่าง บางรุ่นก็มีขนาดใหญ่โตพอๆ กับซีดีรอมตัวหนึ่งเลยทีเดียว บางรุ่นก็มีขนาดพอๆ กับซองบุหรี่เท่านั้น ทั้งนี้มันก็ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติและฟังก์ชันพิเศษในการใช้งานนั่นเอง
ซาวน์ดการ์ดแบบ External นี้จะเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านทางพอร์ต USB ข้อดีของซาวน์ดการ์ดในลักษณะนี้ก็คือช่วยให้เราเพิ่มคุณภาพของเสียงได้ง่ายโดยเฉพาะกับคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กๆ ที่ไม่มีที่ว่างพอสำหรับใส่ซาวน์ดการ์ดแบบ PCI รวมไปถึงคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กที่ส่วนใหญ่จะมีระบบเสียงเป็นแบบสเตริโอธรรมดาเท่านั้น ซาวน์ดการ์ดแบบ External ส่วนใหญ่จะรองรับระบบเสียงแบบ 5.1CH ขึ้นไปจนถึงระดับ 7.1CH กันเลยทีเดียว
เทคโนโลยีอื่นๆ ที่น่าสนใจ
EAX สิ่งสำคัญในการเล่นเกม
EAX (Environment Audio Extensions) เป็นมาตรฐานของระบบการสร้างเสียงในระบบเกม การสร้างเสียงของเกมนนั้นแตกต่างจาการดูหนังฟังเพลง เพราะการสร้างเสียงในเกมนั้นจะใช้วิธีการสังเคราะห์เสียงขึ้นมาใหม่ทั้งหมด โดยใช้ความสามารถของซาวน์ดการ์ดและ CPU ในการทำงานร่วมกัน ดังนั้นหากมองหาซาวน์ดการ์ดที่สามารถนำมาใช้ในการเล่นเกมส์ได้ดี ก็ควรที่จะมองหาซาวน์ดการ์ดที่สามารถรองรับระบบ EAX ได้ดี ซึ่งปัจจุบัน EAX นั้นได้รับการพัฒนามาเป็นเวอร์ชั่นที่ 5.0 แล้ว ซึ่งก็คือ EAX HD 5.0 ซึ่งความสามารถนี้ถูกบรรจุอยู่ในซาวน์ดการ์ดรุ่นใหม่อย่าง X-Fi ของทาง Creative ซึ่งให้เสียงในการเล่นเกมที่ดีกว่าซาวน์ดการ์ดทั่วไป
16 bit / 24 bit ต่างกันอย่างไร
ในทุกวันนี้การพูดถึงซาวน์ดการ์ดนั้นส่วนใหญ่จะมีการพูดถึงความสามารถของซาวน์ดการ์ดในด้านหนึ่งด้วยก็คือ ความสามารถทางด้านบิตนั่นเอง ความหมายของบิตในที่นี้คือ ความสามารถในการเก็บข้อมูลที่นับเป็นความลึกของบิต เป็นความสามารถในการเก็บช่วงระดับเสียงที่แตกต่างกัน หรือในทางกลับกันก็เป็นความสามารถในการสร้างสรรค์ระดับเสียงที่แตกต่างกัน ซึ่งมักทำให้เกิดไดนามิกส์เรนจ์ทางเสียงที่แตกต่างกัน โดยที่ระบบ 16 บิต จะสามารถเก็บหรือสร้างความแตกต่าง ในระดังเสียงได้ 65, 536 ระดับ แต่ในขณะที่ระบบ 24 บิตนั้นสามารถสร้างได้มากถึง 16,777,216 ระดับ ซึ่งแน่นอนว่าไดนามิกเรนจ์ก็จะย่อมดีกว่าแบบ 16 บิตด้วย ทำให้เราได้รับฟังเสียงที่มีความละเอียดมากกว่า
การเลือกซื้อซาวน์ดการ์ดไว้ใช้งาน
ตอนนี้ก็พอจะได้รู้จักกับซาวน์ดการ์ดกันมากขึ้นแล้วนะครับ และการที่จะเลือกซื้อซาวน์ดการ์ดนั้นก็คงจะไม่ต่างอะไรกับอุปกรณ์อื่นๆ คือต้องรู้ก่อนว่าจะนำซาวน์ดการ์ดนี้ไปใช้งานเกี่ยวกับประเภทใด เพื่อที่จะได้เลือกซาวน์ดการ์ดที่เหมาะสมกับการใช้งานของท่าน
เช่นถ้าต้องการซาวน์ดการร้องรำทำเพลงอย่างพวกคาราโอเกะ หรือสำหรับการฟังเพลงเราก็ไม่จำเป็นต้องไปเลือกซาวน์ดการ์ดที่มีการรองรับระบบเสียงหลายช่อง แต่ให้มองหาซาวน์ดการ์ดที่มีค่า SNR สูงๆ เข้าไว้ ค่า SNR ก็คือ Signal to Noise Ratio ทั้งในส่วนของอินพุตและเอาต์พุต ถ้าต้องการซาวน์ดการ์ดเพื่อการเล่นเกมก็ควรเลือกการ์ดที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ เช่นรองรับระบบเสียงแบบสามมิติรอบทิศทาง รองรับเทคโนโลยี EAX เป็นต้น