เมื่อกล่าวถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ สำหรับผู้ที่มีความรู้ทางด้านอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ก็มักจะนึกถึงสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น CPU, Mainboard, RAM, VGA และอุปกรณ์ภายในต่างๆ ซึ่งมองดูว่ามีความสำคัญและเป็นตัวบ่งบอกถึงประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องได้ เป็นอย่างดี แต่ถ้าเราจะดูถึงสิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากๆ นั้นก็คือ "จอแสดงผล" ของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นเอง เพราะตลอดการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ ทุกๆ เครื่อง จำเป็นต้องจ้องมองที่หน้าจออยู่ตลอดเวลา
เนื่องจากว่าการทำงานส่วนใหญ่ของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนั้นจำเป็นต้องอาศัยการแสดงผลในรูปแบบ ของกราฟิกอินเทอร์เฟส (Graphic Interface) ซึ่งเป็นรูปแบบการใช้งานที่ง่าย และสามารถที่จะทำการติดต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer) กับผู้ใช้งาน (User) ได้โดยตรง ซึ่งการ แสดงผลแบบนี้นิยมใช้งานกันเป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็นการทำงานกับระบบปฏิบัติการต่างๆ (OS = Operating System) และโปรแกรมอื่นๆ อีกมากมายตาม ท้องตลาดทั่วไป ส่วนใหญ่จะใช้การแสดงผลแบบนี้ทั้งนั้น ซึ่งผู้ที่ต้องการที่จะใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นควร ที่จะคำนึงถึงความเหมาะสมกับการใช้งานจอ คอมพิวเตอร์ให้มากที่สุด เพราะที่กล่าวมาแล้วจะเห็นว่าจอนั้นเป็นสิ่งที่เราต้องติดต่อหรือใช้งานโดยตรงจึงมีผล ทำให้มีผลกระทบกับร่างกายของผู้ใช้งานโดย ตรง ซึ่งผู้ที่จะเลือกซื้อก็ควรที่จะพิจารณาถึงข้อนี้มากๆ
ประเภทของ จอคอมพิวเตอร์
สำหรับจอของเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนั้นมีมากมายหลายแบบถ้าจะกล่าวถึงตามลักษณะการทำงานกันจริงๆ ก็จะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทก็คือ จอแบบที่ใช้หลอดภาพในการแสดงผล หรือที่เรียกกันว่า Monitor หรือ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) ส่วนอีกประเภทนั้นก็คือ จอแบบที่ใช้การเรืองแสงของผลึกที่เรียกว่าจอ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) ซึ่งมีการทำงานที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ในส่วนของจอมอนิเตอร์นั้นก็สามารถที่จะแบ่งออกเป็นอีก 2 ประเภทนั้นก็คือ จอธรรมดา หรือจอแบบ Shadow Mask ซึ่งจะมีลักษณะของหน้าจอที่โค้งเล็กน้อย ส่วนอีกประเภทคือ จอแบน หรือจอแบบ Trinitron ซึ่งจอแบบนี้จะมีหน้าจอที่แบนเรียบเป็นแนวตรง ซึ่งตามผู้ ผลิตจะเรียกเทคโนโลยีนี้แตกต่างกันออกไป และจะมีการทำงานหรือส่วนเพิ่มเติมที่แตกต่างกันออกไปอีกด้วย
การทำงานของ จอภาพ ในแบบต่างๆ
เพื่อเป็นการที่เราจะสามารถพิจารณาเพื่อจะเลือกซื้อจอของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้นั้นเราจำเป็นต้อง รู้จักพื้นฐานการทำงานของจอแต่ละแบบกันก่อนซึ่ง การทำงานนั้นจะแบบเป็น 2 ประเภทเป็นหลักนั้นก็คือ แบบที่ใช้หลอดภาพ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) กับผลึก LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) ซึ่งการทำงานต่างๆ จะมีดังนี้
สำหรับจอคอมพิวเตอร์แบบ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) นั้น ย่อมาจาก Cathode Ray Tube
ซึ่งการทำงานของจอประเภทนี้จะทำงานโดย อาศัยหลอดภาพ ที่สร้างภาพโดยการยิงลำแสงอิเล็กตรอนไปยังที่ผิวหน้าจอ ที่มีสารพวกสารประกอบของฟอสฟอรัส ฉาบอยู่ที่ผิว ซึ่งจะเกิดภาพขึ้นมาเมื่อสารเหล่านี้เกิดการเรืองแสงขึ้นมา เมื่อมีอิเล็กตรอนมากระทบ ซึ่งในส่วยของจอแบบ Shadow Mask นั้น จะมีการนำโลหะที่มีรูเล็กๆ มาใช้ในการกำหนดให้แสงอิเล็กตรอนนั้นยิงมาได้ถูกต้อง และแม่นยำ ซึ่งระยะห่างระหว่างรูนี้เราเรียกกันว่า Dot Pitch ซึ่งในรูนี้จะมีสารประกอบของฟอสฟอรัสวางเรียงกันอยู่เป็น 3 จุด 3 มุม โดยแต่ละจุดจะเป็นสีของแม่สีนั้นก็คือ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน
ซึ่งแต่ละจุดนี้เราเรียกว่า Triad ในส่วนของจอแบบ Trinitron นั้นจะมีการทำงานที่เหมือนกันแต่ต่างกันที่ ไม่ได้ใช้โลหะเป็นรูแต่จะใช้ โลหะที่เป็นเส้นเล็กๆ ขึงพาดไปตาม แนวตั้ง เพื่อที่จะให้อิเล็คตรอนนั้นตกกระทบกับผิวจอที่มีสารประกอบของฟอสฟอรัสได้มากขึ้น สำหรับจอ Trinitron ในปัจจุบันนี่ได้มีการพัฒนาให้มีความแบนราบมากขึ้นซึ่งจอแบบนี้จะเรียกกันว่า FD Trinitron (Flat Display Trinitron) ซึ่งมีมากมายในปัจจุบันและจะเข้ามาแทนที่จะแบบเดิมๆ อีกทั้งราคายังถูกลงเป็นอย่างมากด้วย
จอคอมพิวเตอร์แบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) หรือ Liquid Crystal Display
การทำงานนั้นจะไม่เหมือนกับจอแบบ CRT Monitor ซีอาร์ที มอนิเตอร์ แม้สักนิดเดียว ซึ่งการแสดงภาพนั้นจะซับซ้อนกว่ามาก การทำงานนั้นอาศัยหลักของการใช้ความร้อนที่ได้จากขดลวด มาทำการเปลี่ยนและ บังคับให้ผลึกเหลวแสดงสีต่างๆ ออกมาตามที่ต้องการซึ่งการแสดงสีนั้นจะเป็นไปตามที่กำหนด ไว้ตามมาตรฐานของแต่ละ บริษัท จึงทำให้จอแบบ LCD Monitor แอลซีดี มอนิเตอร์ มีขนาดที่บางกว่าจอ CRT Monitor อยู่มาก อีกทั้งยังกินไฟน้อยกว่า จึงทำให้ผู้ผลิตนำไปใช้งานกับ เครื่องคอมพิวเตอร์แบบเคลื่อนที่โน้ตบุ๊ค และเดสโน้ต ซึ่งทำให้เครื่องมีขนาดที่บางและเล็กสามารถพกพาไปได้สะดวก ในส่วนของการใช้งานกับเครื่องเดสก์ท็อปทั่วไป ก็มีซึ่งจอแบบ LCD Monitor นี้จะมีราคาที่แพงกว่าจอทั่วไปอยู่ประมาณ 2 เท่าของ ราคาในปัจจุบัน
สำหรับผู้ที่ต้องการที่จะเลือกซื้อจอคอมพิวเตอร์เมื่อไปตามสถานที่จำหน่ายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั่วไปจะพบว่า มีจอคอวพิวเตอร์มากมายหลายรุ่น หลาย ยี่ห้อ ซึ่งทำให้การเลือกซื้อนั้นเป็นไปได้อย่างยากลำบากจริงๆ โดยแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อก็จะมีการโปรโมตเทคโนโลยีต่างๆ ที่มีอยู่ในสินค้าของตนเอง ซึ่งสิ่งที่ สำคัญๆ ที่เราจะสามารถดูได้ถึงประสิทธิภาพของจอคอมพิวเตอร์ และเป็นส่วนที่จะบอกถึงประสิทธิภาพในการใช้งานนั้นมีอยู่เหมือนกันไม่กี่อย่าง ซึ่งอย่างน้อย ก็ทำให้ผู้ที่ต้องการจะซื้อนั้น สามารถได้เลือกจอคอมพิวเตอร์ที่มีคุณภาพได้ตามความต้องการ โดยรายเอียดของจอคอมพิวเตอร์นั้นจะมีได้ดังนี้ คือ
Dot Pitch หรือระยะห่างระหว่างรูของช่องโลหะทั้งแบบ Shadow Mask และ Trinitron ซึ่งปกติแล้วจะมีการวัดระยะห่างกันเป็น มิลลิเมตร (mm) โดยค่า ของ Dot Pitch นี้จะส่งผลต่อการปรับความละเอียดของ จอภาพ หรือ Resolution ซึ่งจอภาพในปัจจุบันนั้นจะมีระยะห่างของ Dot Pitch นี้อยู่ที่ประมาณ 0.28-0.22 ซึ่งยิ่งมีความห่างของ Dot Pitch นี้น้อยเท่าไรก็ยิ่งทำให้ภาพที่ได้มีความคมชัดมากขึ้นเท่านั้น และยิ่งจอที่มีขนาดใหญ่ๆ อย่าง 19-21 นิ้วนั้น จำเป็นต้องมีระยะห่างน้อยลงเพื่อที่จะสามารถแสดงความละเอียดได้สูงๆ อย่าง 1600X1200 ซึ่งจะทำให้ภาพที่ได้มีขนาดพอดีและดูสบายตา เพราะว่าการใช้ ระดับความละเอียดที่ต่ำกับจอภาพขนาดใหญ่ๆ จะทำให้ภาพที่ได้มีขนาดใหญ่ตาม และมีความชัดเจนต่ำจึงทำให้ใช้ความพยายามเพ่งสายตามองมากขึ้นทำให้ เกิดผลเสียกับสายตาได้
Refresh Rate หรือ ความถี่ในการแสดงภาพ ซึ่งในการทำงานของจอภาพนั้นสามารถแสดงผลได้โดยการใช้การเรืองแสงของสารประกอบฟอสฟอรัสที่ฉาบอยู่บน จอภาพ โดยสารนี้จะเรืองแสงเมื่อมีการยิงอิเล็คตรอนมาตกกระทบ โดยสารจะไม่มีการเรืองแสงอยู่ตลอดเวลา จึงต้องอาศัยการยิงลำแสงซ้ำที่เดิมบ่อยๆ โดยการยิง ลำแสงนั้นจะยิงไล่กวาดจากซ้ายบนไปทางขวา แล้วกลับมาเริ่มต้นที่ด้านซ้ายของแถวใหม่ จนเมื่อถึงขวาล่างแล้วจะทำการทบกลับมาที่ซ้ายบนใหม่ โดยจะทำวน แบบนี้ไปเรื่อยๆ จึงทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของภาพเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาโดยการยิงลำแสงอิเล็คตรอนนี้เรียกว่า Raster Scan โดยที่อัตรา Refresh Rate นี้คืออัตราความถี่ของการยิงลำแสงอิเล็คตรอนจากมุมซ้ายบนสุดไปจนถึงมุมขวาล่าง หรือครบทั้งหน้าจอว่าสามารถทำการยิงได้กี่รอบใน 1 วินาที ซึ่งเรียกว่า Vertical Refresh Rate ซึ่งที่เราเรียกกันสั้นๆ ว่า Refresh Rate นั้นเอง ในส่วนของการเลือกซื้อนั้น เราจำเป็นต้องเลือกที่อัตรา Refresh Rate ที่สูงเนื่องจากว่าอัตรา Refresh Rate สูงๆ นั้นจะทำให้การให้ภาพนั้นมีความนิ่งไม่สั่นไหว แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับขนาดของจอมอนิเตอร์ ว่ามีขนาดเท่าใด ซึ่งยิ่งมีขนาดใหญ่อัตรา Refresh Rate ควรมีอัตราที่สูงพอสมควรเพราะจำเป็นต้องใช้ ความละเอียด หรือ Resolution ที่สูง โดยอัตรา ที่จะทำให้เกิดความสบายตา หรือมีความนิ่งของภาพนั้นควรที่จะอยู่ที่ประมาณ 65-75Hz โดยอัตรา Refresh Rate จะมีผลต่อสายตาเราโดยตรงอย่างมาก ซึ่งถ้าอัตรา Refresh Rate ที่ต่ำจะทำให้ภาพที่ได้นั้นมีอาการสั่น กระพริบ ทำให้เกิดผลเสียกับสายตาได้อย่างมาก
อัตรา Refresh Rate ควรจะเป็นที่ 70 Hz
Resolution หรือความละเอียดของหน้า จอภาพ โดยเป็นความละเอียดในการแสดงผลภาพต่อ พิกเซล (Pixels) ซึ่งยิ่งสามารถแสดงในความละเอียดที่สูงขึ้นจะทำให้ ภาพมีขนาดเล็กลงเพราะว่า ในแต่ละระดับความละเอียดจะบ่งบอกถึงขนาดในการแสดงผลในระดับกว้าง X ยาว กล่าวคือ ความละเอียด 800X600 จะสามารถ แสดงความละเอียดที่ 800 พิกเซลตามความกว้างแนวนอนของจอภาพ และ600พิกเซลในความยาวแนวตั้งของจอภาพ ซึ่งในความละเอียดสูงก็จะทำให้มีพื้นที่ใน การแสดงผลที่มากขึ้น ในส่วนของความละเอียดของหน้าจอนี้ควรที่จะสามารถปรับระดับความละเอียดที่เหมาะสมกับการทำงาน และขนาดของจอภาพ ซึ่งจอแต่ ละขนาดจะมีขีดจำกัดในการแสดงความละเอียดเช่น จอขนาด 15นิ้ว จะสามารถแสดงได้สูงสุดที่ 1024X768 พิกเซล โดยจอที่มีคุณภาพจะสามารถที่จะปรับ ความละเอียดได้มากๆ โดยความละเอียดที่จะมีผลกับอัตรา Refresh Rate ของแต่ละจอซึ่งแตกต่างกันออกไป
เราสามารถที่จะปรับความละเอียดของจอภาพได้หลายแบบตามความต้องการ
Size หรือขนาดของหน้าจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งเราจะสามารถได้คราวๆ โดยการวัดขนาดจากมุมบนด้านใดด้านหนึ่งมายังมุมล่างอีกด้าน เช่นถ้าเราต้องการ วัดจากมุมซ้ายบน ก็ต้องมาจบที่มุมขวาล่าง ซึ่งขนาดจะไม่มีการกำหนดที่แต่นอนในแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อ ซึ่งขนาดของจอคอมพิวเตอร์จะมีขนาดตั้งแต่ 14นิ้ว, 15นิ้ว, 17นิ้ว, 21นิ้ว และขนาดที่ใหญ่กว่านั้นซึ่งการใช้งานและเลือกซื้อควรที่จะให้เหมาะสมกับการทำงานเช่น การทำงานด้านเอกสารหรือ ใช้พิมพ์งานควรที่ จะใช้ขนาดประมาณ 14 -15 นิ้ว เพราะถ้าใหญ่กว่านั้นจะทำให้ตัวหนังสือมีขนาดใหญ่ทำให้ต้องเพิ่งมากเสียสุขภาพของสายตา และการทำงานทางด้านกราฟิก หรือเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์นั้นควรที่จะใช้ขนาด 17-25 นิ้ว เพราะจำเป็นต้องใช้ความละเอียดในระดับสูงในการแสดงผลเพื่อให้มองเห็นองค์ประกอบของภาพ อย่างชัดเจนมากขึ้น ซึ่งขนาดของจอภาพนั้น อาจจะสามารถเลือกได้แล้วแต่ความถนัดของแต่ละบุคคลอีกด้วย
ในส่วนของรายละเอียดต่างๆ ที่นอกจากนี้คือ ดีไซด์ของจอภาพ และฟังก์ชั่นต่างๆในการทำงานซึ่งส่วยใหญ่นั้นมักจะขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานซึ่งแต่ละคนจะ มีรสนิยมและสไตล์ในการใช้งานที่แต่ต่างกันออกไป ซึ่งจอคอมพิวเตอร์แต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อนั้นก็จะมีการออกแบบมาแตกต่างกันออกไป เพื่อให้ผู้ซื้อสามารถเลือกซื้อ ได้ตามความต้องการ ซึ่งส่วนที่สำคัญหลักก็จะมีดังที่กล่าวมาแล้วคือ Dot Pitch (ระยะห่างของจุด), Refresh Rate (ความถี่ในการแสดงผล), Reso -- lution (ความละเอียดของภาพ) และSize (ขนาดของจอภาพ) ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญอย่างยิ่งในการเลือกซื้อ
เทคโนโลยีใหม่ๆ ของจอคอมพิวเตอร์ ในส่วนของเทคโนโลยีของจอนั้นแต่ละผู้ผลิตจะมีการนำเอาเทคโนโลยีที่พัฒนามาใช้งานในโปรโมตสินค้าของตนเอง ซึ่งแต่ผู้ผลิตจะมีเทคโนโลยีที่ เรียกแตกต่างกันออกไปโดยอาศัยหลักในการประยุกต์เทคโนโลยีต่างๆ ไว้ด้วยกัน ซึ่งเทคโนโลยีใหม่ๆ ของจอภาพเช่น
เทคโนโลยี LightFrame 2 ของ Philips ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ผสานประสิทธิภาพของฮาร์ดแวร์และซอร์ฟแวร์ไว้ด้วยกัน โดยการทำงานในรูปแบบ Automatic Object Detection For Internet Browsing ซึ่งจะทำหน้าที่ในการตรวจสอบจากการใช้งานอินเตอร์เน็ตว่ามีไฟล์รูปภาพหรือวิดีโอหรือไม่ ซึ่งถ้ามีก็จะทำการปรับความคมชัดในส่วยเฉพาะรูปหรือภาพวิดีโอให้มีความสว่างคมชัดขึ้น และยังสนับสนุนการทำงานเกี่ยวกับการชมภาพยนตร์ และเล่นเกมส์ อีกด้วย
เทคโนโลยี ICE ของ Philips เป็นเทคโนโลยีในการกำจัดเคลื่อนรบกวนทางแม่เหล็กเพื่อให้ยังคงรักษาระดับแสงของเฉดสีไว้ได้ดังเดิม ซึ่งเป็น เทคโนโลยี เฉพาะของ Philips เท่านั้น
เทคโนโลยี MagicBright ของ Samsung เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้จอภาพสามารถให้แสงสว่างสูง
ถึงขีดระดับ 330cd/m2 พร้อมทั้งยัง สามารถใช้งานโหมดต่างๆ ในการปรับระดับของแสงให้สามารถใช้งานได้ตามความเหมาะสมเพื่อเป็นการรักษาสายตา
เทคโนโลยี Digital Dynamic Convergence ของ Sony จะช่วยให้ได้จอภาพที่มีลักษณะการรวมกันของอิเล็dตรอน 3 ลำพอดีทุกจุดไม่ว่าจะ เป็นกลางจอหรือว่าริมของจอภาพก็ตามซึ่งการปรับคอนเวอร์เจ็นต์แบบไดนามิกนั้นทำให้ได้ภาพที่สีอิ่มตัวตลอดทั้งจอภาพ เพราะ Digital Convergence นั้นช่วยลดการเหลื่อมของลำอิเล็กตรอนจากเดิมที่ยอมให้ลำอิเล็คตรอนที่มุมผิดได้ 4 มม.ก็ลดลงมาเหลือ 3.5 มม. ทำให้การเกิดสีเหลื่อม (Misconvergence) ที่บริเวณมุมและขอบจอลดลงไป
เทคโนโลยี Flatron ของ LG ซึ่งจริงๆ เทคโนโลยี Flatron คือ การใช้หลอดภาพดำที่เรียกว่าแบบ Black Trinitron แต่ชื่อ ไตรนิตรอน (Trinitron) ถูกจดลิขสิทธิ์โดยบริษัท SONY ซึ่งในส่วนของเทคโนโลยี Flatron นั้นจะดีลักษณะที่ดีกว่า Trinitron ของ Sony คือมีลักษณที่เรียกว่าแบน "อย่างธรรมชาติ" หรือ "Natural Flat" ซึ่งทำให้การมอง และใช้งานนั้นดูสบายตามีสีที่สดใส อีกทั้งจอที่ดำสนิททำให้การให้แสงนั้นมีคุณภาพคมชัด อีก ทั้งจอยังเคลือบด้วย W-ARAS ที่ป้องกันการปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งเป็นอันตรายและจอภาพที่ปราศจากความโค้งใดๆ นอกจากนี้ FLATON ยังมี Flat Tension Mask ซึ่งแอลจี อีเลคทรอนิคส์ ได้พัฒนาขึ้นมาโดยเฉพาะ ดังนั้น FLATRON จึงให้ภาพที่สมจริงมาก
การเลือกใช้จอ LCD Monitor สำหรับจอแบบ แอลซีดี มอนิเตอร์ นั้น จากการทำงานของมันแล้วจะรู้ได้ว่าจอแบบ LCD Monitor นั้น สามารถที่จะช่วยในการลดอัตรา เสี่ยงที่สายตาเราจะรับรังสีที่แผ่ ออกมาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ เพราะจอแบบ แอลซีดี มอนิเตอร์ นั้นในหลักการในการใช้ความร้อนของขดลวดในการทำให้ผลึกเหลวแสดงภาพออกมา จึงทำให้จอ LCD Monitor นี้สามารถที่จะถนอมสายตาได้ อีกทั้งแสงสว่างที่ได้จะไม่สั่นไหวเหมือนจอแบบที่ใช้หลอดภาพ เพราะจอแบบ แอลซีดี มอนิเตอร์ นั้นไม่จำเป็นต้องทำการยิงแสง อิเล็กตรอน เหมือนจอแบบหลอดภาพ นั้นก็เป็นข้อดีของจอแบบ LCD Monitor และข้อดีอีกอย่าง คือขนาดที่เบาและบางทำให้มีเนื้อที่บนโต๊ะทำงานเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังใช้พลังงานไฟฟ้า น้อยกว่าทำให้สามารถประหยัดไฟฟ้าไปได้มาก ส่วนของข้อเสียนั้นก็คือ ราคาเพราะราคานั้นจะสูงกว่าจอแบบอื่นๆ แต่ในตอนนี้นั้นราคาได้ลดลงมามาก อยู่ที่ ประมาณ หมื่นต้นๆ ของจอขนาด 15นิ้ว ซึ่งจอ LCD Monitor นี้ก็เป็นที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่มีงบในการเลือกซื้อเพราะดูจากข้อดีแล้วซึ่งจะคุ้มค่ามากเมื่อเทียบ กับเงินที่จะ สูญเสียไป
เมื่อเราทำความเข้าใจถึงหลักการทำงานของจอคอมพิวเตอร์แล้ว ทำให้ผู้ที่จะเลือกซื้อนั้นสามารถที่จะเลือกซื้อจอได้ตรงความต้องการในส่วนของ การเลือกซื้อนั้น อย่างที่กล่าวไว้ว่าการใช้งานจอคอมพิวเตอร์นั้นจะขึ้นอยู่กับความพอใจ และความถนัดของผู้ใช้งานเป็นหลัก ซึ่งการเลือกซื้อที่จะแนะนำได้นั้นคือ การเลือกให้เหมาะสมกับการทำงาน และเพื่อที่รักษาถนอมสายตาของผู้ใช้จึงควรที่จะเลือกซื้อจอที่มีคุณภาพให้ได้ตามมาตรฐานมีระของขนาด ความละเอียด และการให้แสงที่เหมาะสมกับงาน เมื่อผู้ที่ต้องการจะซื้อนั้นได้จอคอมพิวเตอร์ที่มีคุณภาพมาใช้งานแล้วนั้น จะทำให้การทำงานเป็นไปได้อย่างราบรื่น และไม่เสีย สุขภาพด้วย ดังนั้นจอคอมพิวเตอร์จึงเป็นสิ่งที่ไม่สามารถที่จะมองข้ามในการเลือกซื้อไปได้เลยนะครับ
การเลือกซื้อจอภาพแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์)
สำหรับเมื่อช่วงปีที่ผ่านจอภาพแบบ LCD Monitor นั้นได้มีการเปิดตัวจอภาพรุ่นใหม่ๆ มามากมายอีกทั้งยังมีการลดราคาให้สามารถที่ จะเลือกซื้อ ได้ง่ายขึ้น จึงทำให้ผู้ที่ต้องการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ไปใช้งานนั้นสามารถที่จะเลือกซื้อจอภาพแบบ แอลซีดี มอนิเตอร์ ไปใช้งานกัน แต่ก็ยังมี ข้อที่สงสัยกันโดยมากว่าการเลือกซื้อจอภาพ LCD Monitor นั้นจะแตกต่างกับจอภาพแบบ CRT Monitor บ้างหรือไม่ ซึ่งเมื่อจะดูจากเทคโนโลยีแล้วนั้น ก็ย่อมจะมีส่วนที่แตกต่างกันมาก ดังนั้นก็เลือกซื้อจอภาพ แอลซีดี มอนิเตอร์ จึงมีข้อที่ให้สังเกตในการเลือกซื้อที่แตกต่างจากจอภาพ ซีอาร์ที มอนิเตอร์ ออกไปเป็นบางส่วน ซึ่งก็จะกล่าวกันต่อไป
อย่างที่กล่าวมาจอภาพแบบ LCD Monitor นั้นมีการทำงานที่แตกต่างจากจอภาพแบบ CRT Monitor นั้นก็เพราะว่าเทคโนโลยีของจอภาพแบบ แอลซีดี มอนิเตอร์ หรือ Liquid Crystal Display ซึ่งเป็นจอภาพที่เป็นการแสดงภาพแบบดิจิตอล (Digital) โดยภาพที่ได้นั้นเกิดจากการปรากฎ ขึ้นจากแสงที่ปล่อยออกมาจากหลอดไฟ ด้านหลังของจอภาพ (Back light) และแสงนั้นก็จะผ่านชั้นกรองแสง (Polarized filter) แล้วแสงนั้นก็จะทำการผ่านต่อไปยังชั้นที่ผลึกคริสตัลเหลวที่เรียง ตัวกันเป็น 3 เซลล์ด้วยกัน นั้นคือ แสงสีแดง แสงสีเขียว และแสงสีน้ำเงิน โดยแสงที่ได้นั้นจะกลายเป็นแต่ล่ะพิกเซล (Pixel) และรวมกันจนกลายเป็นภาพที่ได้ ออกมาทางหน้าจอ โดยจอภาพแบบ LCD Monitor นั้นได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนสามารถที่จะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทนั้นคือ
จอภาพที่ใช้เทคโนโลยี STN (Super-Twisted Nematic) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ให้ความคมชัด และแสงสว่างไม่มากนักจึงทำให้นิยมนำไปใช้งานกับอุปกรณ์ประเภทเคลื่อนที่ขนาดเล็กๆ อย่างโทรศัพท์มือถือ เกมเคลื่อนที่ หรือจอภาพของ Palm ที่เป็นแบบขาวดำ
จอภาพที่ใช้เทคโนโลยี TFT (Thin Film Transistor) เป็นเทคโนโลยีที่นิยมนำมาใช้งานทั้งจอของเครื่องโน๊ตบุ๊ค (Notebook) และจอภาพที่นำมาใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไปเป็นอย่างมากเนื่อง จอากว่าภาพที่ได้จากเทคโนโลยีนี้นั้นจะมีความคมชัด และแสงสว่างกว่าแบบแรกเป็นอย่างมาก
เมื่อได้รู้ถึงเทคโนโลยีในการแสงภาพของจอภาพแบบ แอลซีดี มอนิเตอร์ กันแล้ว ก็จะเห็นได้ว่าจอภาพแบบ LCD Monitor นั้นมีขั้นตอนในการแสดงภาพที่แตกต่างจาก จอภาพ แบบ CRT Monitor อย่างเห็นได้ชัดสำหรับการเลือกซื้อที่สามารถจะเลือกซื้อจอภาพที่ได้อย่างถูกต้องนั้นก็จะมีหลายวิธีที่จะสามารถที่จะพิจารณาในการเลือกซื้อ จอภาพ แบบ LCD Monitor ได้เป็นอย่างดี โดยขั้นตอนนี้ก็จะมีดังต่อไปนี้
เลือกขนาดที่เหมาะสมกับการใช้งาน ในการใช้งานจอภาพนั้นจำเป็นจะต้องเลือกใช้งานขนาดของจอภาพให้เหมาะสมกับงานเป็นอย่างมาก เพื่อที่จะได้ช่วยให้การทำงานนั้นมี ประสิทธิ -ภาพมายิ่งขึ้น อย่างเช่นการทำงานที่เกี่ยวกับงานเอกสารนั้น ก็สามารถที่จะเลือกซื้อจอที่มีขนาดตังแต่ 14"-17" ได้ แต่ถ้าจะใช้จอภาพที่มีขนาดใหญ่ไปกว่านี้ ก็จำเป็นต้องปรับขนาดของตัวหนังสือให้เล็กลงเพราะถ้าไม่ทำเช่นนี้ก้อาจจะทำให้เกิดอาการปวดตาขึ้นมาดได้เพราะตัวหนังสือที่แสดงมีขนาดใหญ่จนเกินไป
สำหรับการทำงานทางด้านการออกแบบกราฟิก ตกแต่งรูปภาพ การใช้จอภาพที่มีขนาดใหญ่อย่าง 17", 19" และ 21" นั้นก็จะช่วยให้การทำงาน นั้นมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เพราะการทำงานแบบนี้จะเป็นต้องใช้ความละเอียด และการมองภาพ และวัตถุบนจอภาพที่มากกว่าการทำงานปกติเป็นอย่างมาก และสำหรับผู้ที่ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อความบันเทิงนั้น สามารถที่จะเลือกใช้งานจอภาพได้ตามความเหมาะสมกับงบที่มีอยู่ โดยน่าจะเริ่มใช้งานที่ 17" ขึ้นไป เนื่องจากว่าการใช้งานจอภาพขนาด 15" นั้นดูเหมือนจะไม่เพียงพอกับการใช้คอมพิวเตอร์ในการเล่นเกม และชมภาพยนตร์ แต่สิ่งที่สำคัญนั้นคือจอภาพ แบบ แอลซีดี มอนิเตอร์ นั้นที่มีขนาดใหญ่นั้นราคายังคงแพงอยู่เป็นอย่างมาก ซึ่งเมื่อคิดจะเลือกซื้อนั้นให้คำนึงถึงความเหมาะสม และงบให้เป็นอย่างมาก
ในส่วนของเรื่องความละเอียดของจอภาพแบบ LCD Monitor นั้น จะมีจำนวนของ Pixel ที่แน่นอน ซึ่งแตกต่างจากจอภาพแบบ CRT Monitor ที่มีจำนวนของ Dot Pitch ที่ไม่แน่นอน และสามารถที่จะปรับความลพเอียดได้หลายค่า ขึ้นอยู่กับแต่ละเทคโนโลยี แต่สำหรับจอภาพแบบ แอลซีดี มอนิเตอร์ นั้น แม้จอภาพจะใช้เทคโนโลยีที่แตก ต่างกันแต่ความละเอียดสูงสุดของจอภาพก็จะเท่ากันเสมอ เช่น จอภาพขนาด 15" นั้นก็จะมีความละเอียดสูงสุดที่ 1024x768 เท่ากัน และจอภาพขนาด 17" นั้นก็จะมีความละเอียดสูงสุดที่ 1240x1024 เท่ากันอีกเช่นกัน จะเห็นได้ว่าจอภาพที่มีขนาดใหญ่ก็จะมีค่าความละเอียดของภาพสูงขึ้นตามลำดับ นี้ก็เป็นอีก ข้อหนึ่งที่น่าสังเกตในการเลือกซื้อจอภาพแบบ LCD Monitor
ค่าของ Dot Pitch สำหรับค่าระยะห่างของจุดภาพนั้น อย่างที่กล่าวมากข้างต้นนั้นจอภาพแบบ แอลซีดี มอนิเตอร์ อาศัยหลักการเรืองแสงของผลึกเหลว ดังนั้นค่าระยะห่างของจุด ภาพนั้น จึงมักจะเท่าๆ กันเสมอในทุกๆ เทคโนโลยีที่จอภาพมีการใช้งาน ซึ่งในส่วนนี้นั้นก็มักจะมีบ้างผู้ผลิตที่สามารถจะทำการปรับเปลี่ยนระยะให้มีขนาดเล็กลง ได้บ้างเพียงเล็กน้อย ซึ่งจะเห็นได้ชัดว่ายิ่งค่าของ Dot Pitch มีขนาดเล็กลงความละเอียด และความคมชัดของภาพ ก็มักจะมีมากขึ้นตามไปด้วย สำหรับจอภาพ ขนาด 15" นั้นส่วนใหญ่แล้วก็มักจะมีค่าของ Dot Pitch ที่ 0.297 มิลลิเมตร สำหรับจอภาพนาด 17" นั้นก็จะมีค่า 0.264 มิลลิเมตร ซึ่งจอภาพบ้างจออาจจะ มีค่าที่แตกต่างไป แต่ค่าของ Doit Pitch ที่ให้ไว้นั้นเป็นมาตรฐานทของจอภาพแบบ LCD Monitor แอลซีดี มอนิเตอร์ เป็นส่วนใหญ่
จำนวนของเม็ดสี (Bit Depth) สำหรับค่าของ Bit Depth นั้นเป็นค่าตัวเลข ที่จะบอกถึงความสามารถในการแสดงของจำนวนเม็ดสีที่ จอภาพ สามารถที่จะแสดงได้ โดยค่าตัวเลข ดังกล่าวจะอยู่ในรูปของตัวเลขในรูปแบบดิจิตอล คือ 8 bit, 16 bit และ 24 bit วึ่งยิ่งค่าของ Bit Depth ยิ่งมาก สีที่แสดงออกมาก็จะยิ่งมากขึ้นตาม นั้นคือถ้า เป็นแบบ 8 bit สีที่ได้ ก็คือ ตัวเลขฐาน 2 คูณกัน 8 ครั้ง นั้นคือ 2x2x2x2x2x2x2x2 ก็จะเท่ากับ 256 สี และถ้าหากเป็นแบบ 16 bit แล้ว สีที่ได้ก็จะมีจำนวน 65,536 สี ซึ่งเป็นค่าที่เพียงพอสำหรับการแสดงภาพถ่าย และภาพ 3 มิติ ทั่วไป ถ้าถ้าจะให้ดี และสีที่แสดงออกมาไม่มีผิดเพี้ยน และได้สีที่ครบถ้วนนั้น ก็ควรที่ จะใช้งานที่ระดับ Bit Depth มากว่า 16 bit ขึ้นไป
สำหรับสิ่งที่กล่าวมากใน 4 ข้อแรกนั้นเป็นวิธีในการที่จะดูถึงความสามารถของจอภาพ ซึ่งทั้ง 4 ข้อนั้นสามารถที่จะใช้รวมกับการเลือกซื้อจอภาพแบบ CRT Monitor ได้เหมือนกัน เนื่องจากว่าทั้ง แอลซีดี มอนิเตอร์ และ ซีอาร์ที มอนิเตอร์ จะมีละเอียดในการเลือกซื้อเหมือนกันทั้ง 4 ข้อที่กล่าวมา ซึ่งต่อไปจะเป็นการกล่าวถึงวิธีการเลือกซื้อที่มี เฉพาะในจอภาพแบบ LCD Monitor เท่านั้น แต่ในบ้างครั้งก็จะมีปรากฏในรายละเอียดทางด้านเทคโนโลยีของ CRT Monitor แต่ก็ไม่สามารถที่จะเป็นสิ่งชี้ชัดในการเลือกซื้อได้ เพราะค่าดังกล่าวมักจะเท่าๆ กันเกือบทั้งหมด
สำหรับค่าของ Viewing Angle นี้เป็นค่าของมุมในการแสดงภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีอยู่ในเฉพาะจอภาพแบบ LCD Monitor เท่านั้น เพราะจอภาพแบบ แอลซีดี มอนิเตอร์ ดันมักจะมีการสะท้อนของแสงสีขาวที่ออกมาจากจอภาพ ทำให้ภาพที่ได้นั้นพร่ามัว และสีของภาพจะไม่ชัดเจนไม่เหมือนจริง ซึ่งในจอภาพในแต่ละรุ่นจะมีค่านี้ เป็น องศา นั้นคือ มุมที่สามารถมองเฉียงออกจากกลางจอภาพได้เป็นระยะกี่องศา ทั้ง 4 ด้าน โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ทิศทาง เป็นแนวตั้ง คือ มองจากด้านบน และ ด้านล่าง แนวนอน คือ ด้านซ้าย และด้านขวา โดยที่ค่านี้ยิ่งมากเท่าไร มุมมองที่สามารถจะแสดงแล้วภาพไม่พร่ามัว ก็จะยิ่งมากตามขึ้นไปด้วย
นี่รูปแบบของมุมในการสะท้อนของแสง และมุมที่จะได้รับภาพชัดเจน ค่าความสว่างของ จอภาพ ที่ดีนั้น ควรที่จะมีความสว่างที่เพียงพอกับการใช้งานในระดับปกติ แต่ถ้าจอภาพนั้นมีแสงสว่างมากจนเกินไปก็จะทำให้แสงสัขาวมีมากเกิดไป ทำให้ภาพนั้นดูซีด และไม่เป็นผลดีกับสายตาอย่างแน่นอน ซึ่งค่านี้สามารถที่จะดูได้ที่ค่า Contrast Ratio ซึ่งเป็นค่าของอัตราส่วนระหว่างความสว่างของ แสงสีขาว กับ ความคมชัดของ แสงสีดำ โดยในบ้างครั้ง ค่าเหล่านี้มักจะไม่มีผลกับการเลือกซื้อจอภาพแบบ LCD Monitor แอลซีดี มอนิเตอร์ มากนัก เพราะเนื่องจากว่าผู้ซื้อส่วนใหญ่แล้ว มักจะตักสินใจเลือกซื้อจอภาพที่ให้แสงสว่างได้เหมาะสมกับผู้ใช้เป็นส่วนใหญ่ กล่าวคือในการเลือกซื้อนั้นผู้ซื้อควรที่จะทำการทดสอบใช้งานด้วยสายตาตนเอง จะเป็นดีที่สุด เพราะว่าความเหมาะสมกับแสงสว่างที่ใช้งานในสายตาของคนแต่ล่ะคนย่อมที่จะแตกต่างกันออกไป การทดสอบด้วยตาตนเองจะเป็นการดีที่สุด
ความเร็วในการตอบสนองนั้น เราสามารถที่จะวัดได้จาดค่า Response time ซึ่งเป็นค่าที่จะทำการวัดช่วงระยะเวลาที่ภาพสามารถตอบสนอง และแสดงเป็นภาพได้ โดยจะมีหน่วยเป็น มิลลิวินาที ซึ่งค่านี้ยิ่งน้อยเท่าไร ก็แสดงว่าจอภาพนั้นสามารถที่จะแสดงภาพได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยค่านี้จะไม่มีผลกับ ผู้ที่ทำงานทางด้านเอกสารทั่วไป แต่จะเห็นผลกับผู้ที่ใช้งานจอภาพในด้านการแสดงภาพ วิดีโอ การทำงานทางด้านกราฟิกต่าง รวมทั้งการเล่นเกม เพราะถ้าค่านี้ ยิ่งน้อยเท่าไร อาการที่จะกระตุกของภาพระหว่างการแสดงภาพยิ่งลดน้อยลง
ช่องต่อแบบ อนาล็อก (Analog) และแบบ ดิจิตอล (Digital) โดยทั่วไปแล้วจอภาพนั้นจะทำการรับข้อมูลที่จะนำมาแสดงภาพจากตัวกราฟิกการ์ด ที่มีการเก็บข้อมูลดังกล่าวไว้ในหน่วยความจำ ทั้งแบบ Frame Buffer หรือ Video RAM ซึ่งข้อมูลที่เก็บไว้นั้นจะอยู่ในรูปแบบของข้อมูลดิจิตอล ซึ่งในการส่งข้อมูลทั่วไป โดยผ่านทางพอร์ตแบบ VGA หรือที่เรียกอีกอย่าง ว่าพอร์ด D-Sub 15 pin นั้นกราฟิกการ์ดจะทำการแปลงสัญญาณข้อมูลที่เป็นดิจิตอล ให้เป็นสัญญาณแบบอนาล็อก แล้วจึงค่อยส่งสัญญาณข้อมูลออกมาทาง สายสัญญาณ โดยที่สัญญาณนั้นจะมีการแบ่งเป็นสัญญาณของแต่ละแม่สี นั้นคือ สีแดง สีน้ำเงิน และสีเขียว ซึ่งจะต่างจากการส่งสัญญาณของโทรทัศน์ทั่วไปที่ จะส่งรวมกันมา จึงเป็นเหตุผลที่ว่าจอภาพที่ใช้งานกับคอมพิวเตอร์นั้นจะมีคุณภาพของภาพสูงกว่าเป็ยอย่างมาก แต่การส่งสัญญาณแบบนี้นั้นก็ยังทำให้คุณภาพ ของภาพนั้นเสียไป ในขั้นตอนการแปลงสัญญาณจากดิจิตอล เป็นอนาล็อก ถึงแม้ในขั้นตอนการแปลงจะใช้เวลาไม่นอน แต่ก็เพียงพอที่จะเป็นเพิ่มเวลาในการแสดง ภาพมากขึ้น ในขณะที่คุณภาพลดลง ดังนั้นจึงได้มีพอร์ตแบบ ดิจิตอล หรือ DVI (Digital Video Interface) โดยเทคโนโลยี DVI นั้นจะเป็นการนำเอาข้อมูล ที่อยู่ในรูปแบบดิจิตอลที่อยูในหน่วยความจำของกราฟิกการ์ด มาแสดงบนจอภาพเลย โดยไม่มีการแปลงสัญญาณ จึงทำให้สัญญาณภาพนั้นมีคุณภาพ และความ เร็วมากขึ้น โดยการเลือกซื้อนั้น ก็จำเป็นต้องอาศัยกราฟิกการ์ดที่มีพอร์ตแบบ DVI ไว้ให้ใช้งาน และที่ตัวจอภาพก็จำเป็นต้องมีพอร์ตแบบ DVI ติดตั้งอยู่เหมือน กัน จึงจะสามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ช่องต่อแบบ D-Sub 15pin และแบบ DVI ที่อยู่บนกราฟิกการ์ด
ที่จอภาพที่มีช่อต่อทั้งแบบ D-Sub 15pinและแบบ DVI
จึงสามารถที่จะใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ระบบการจ่ายพลังงานไฟฟ้าเนื่องจากจอภาพแบบ LCD Monitor นั้นเป็นจอภาพที่ขึ้นชื่อในด้านการประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี ดังนั้นระบบการจ่ายไฟฟ้าจึงมีส่วนสำคัญ และ แต่แตกต่างจากจอภาพแบบ CRT Monitor ซีอาร์ที มอนิเตอร์ เล็กน้อยตรงที่จอภาพแบบ LCD Monitor นั้นจะมีตัวแปลงกระแสไฟฟ้าทั้งแบบ ด้านใน (Internal) และแบบด้านนอก (External) ซึ่งจอภาพแบบ แอลซีดี มอนิเตอร์ ที่มีตัวแปลงกระแสไฟฟ้าแบบภายใน และภายนอกนั้นก็จะมีทั้งข้อดีและข้อเสียในตัวเอง โดยแบบภายในนั้นข้อดีก็คือ การติดตัง และเวลาเคลื่อนย้ายไฟใช้งานที่อื่นสามารถที่จะยกไปใช้งาน และติดตั้งได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องนำอุปกรณ์อื่นๆ ไปด้วย
สำหรับข้อเสียคือเรื่องของความหนาในส่วนของด้านหลังของจอภาพ ซึ่งจะเป็นต้องเพิ่มเนื้อที่ในการติดตั้งในส่วนของตัวแปลงกระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้น และข้อเสียอีกข้อหนึ่งคือเรื่องของความร้อนที่เกิดขึ้น เพราะตัวแปลงกระแสไฟฟ้า สำหรับจอภาพแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) ที่มีตัวแปลงกระแสไฟฟ้าด้านนอกนั้นข้อดีก็คือ จอภาพจะมีความแบน และบางเป็นอย่างมาก และจะมีน้ำหนังที่เบา ความร้อนที่เกิดขึ้นในระหว่างใช้งานจะมีไม่มาก เนื่องจากนำส่วนการแปลงกระแสไฟฟ้าออก ไปไว้ข้างนอก ข้อเสียนั้นคือ การติดตั้ง และการเคลื่อนย้ายเป็นไปได้ลำบาก เนื่องจากจำเป็นต้องนำเอาตัวแปลงกระแสไฟฟ้าที่แยกออกมาก นำไปติดตั้งด้วยทุกครั้ง และตัวแปลงกระแสไฟฟ้าของจอภาพแบบละรุ่นมักจะแตกต่างกันจึงไม่สามารถที่จะใช้งานร่วมกันได้ เพราะถ้าค่าของกระแสไฟฟ้าผิดจากที่ใช้ปกติ อาจจะทำ ให้เกิดความเสียหายขึ้นกับจอได้นั้นก็เป็นข้อสังเกตในการเลือกซื้อจอภาพแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) ซึ่งเป็นข้อสังเกตที่สามารถที่จะทำการดูได้จากข้อมูลทางเทคนิค (Specification) ของจอในแต่ละรุ่นเพื่อที่จะทำการตัดสินใจเลือกซื้อจอภาพแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) มาใช้งาน เพื่อให้ได้จอภาพที่เหมาะสมกับการใช้งาน และเหมาะกับตัว ผู้ใช้งานมากที่สุด โดยในแต่ละข้อนั้นก็สามารถที่จะนำไปประยุกต์ในการเลือกซื้อจอภาพแบบอื่นๆ ได้อีก สำหรับข้อแตกระหว่างจอภาพแบบ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) กับ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) นั้นก็สามารถที่จะทำการสรุปเป็นข้อๆ ได้ดังนี้
รูปร่าง และน้ำหนัก: จอภาพ แบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) นั้นจะมีความบาง และแบนกว่าจอภาพแบบ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) เป้นอย่างมากนั้นเป็นเพราะเทคโนโลยีในการแสดงภาพที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นข้อดีที่ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) นั้นได้เปรียบจอภาพแบบ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) อยู่มากอีกทั้งด้วยความบาง และแบนของจอ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) จึงทำให้น้ำหนักนั้นเบากว่าจอ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) เป็นอย่าง มาก การเคลื่อนย้ายจึงสามารถทำได้ง่ายกว่า
พื้นที่ในการแสดงผล:ในบางครั้งหลายๆ ท่านจะสังเกตเห็นได้ว่าจอภาพแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) นั้นถึงแม้จะมีขนาดเท่ากับจอภาพแบบ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) มักจะมีพื้นที่ในการแสดงภาพมากกว่า อย่างเห็นได้ชัด นั้นก็เพราะว่าจอภาพแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) นั้นสามารถที่จะแสดงภาพได้เต็มพื้นที่ อีกทั้งความบาง และความคมชัดของจอภาพ จึงทำให้ดู เหมือนจอภาพของ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) จะมีพื้นที่แสดงภาพมากกว่าจอภาพแบบ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) ที่มีขนาดเท่ากัน
ขนาดความหนาของจอภาพที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด
ความคมชัดของภาพ:ถึงแม้ว่าจอภาพแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) นั้นจะมีระยะห่างของจุด (Dot Pitch) มากว่าจอภาพแบบ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) บางรุ่น แต่ความคมชัด และสีสันนั้น จอภาพแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) จะมีอยู่สูงกว่าจอภาพแบบ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) อยู่มากเนื่องจากว่าจอภาพแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) ใช้หลักการเรืองแสง และแสดงภาพแบบดิจิตอลภาพที่ได้จะแสดง ได้ถูกต้องตามตำแหน่งของภาพได้มากกว่า และเนื่องจากเป็นผลึกเหลว การไล่สีของภาพจึงสามารถที่จะทำได้ดีกว่าการยิงแสงของจอภาพแบบ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) ภาพที่ได้จึงคมชัดมากกว่า
การกระจายของรังสี นี้ก็เป็นอีกข้อหนึ่งที่เป็นที่พูดถึงกันมากในการใช้งานคอมพิวเตอร์ นั้นคือ การกระจายรังสีของจอภาพที่ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งจริง และการ กระจายรังสี นี้มีอยู่ในทุกๆ จอภาพ ไม่ว่าจะเป็น โทรทัศน์ รวมทั้งอุปกรณ์แสดงภาพต่าง แต่ทำไหมถึงจอภาพแบบ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) จึงเป็นที่พูดถึงกับบ่อย ซึ่งจริงๆ แล้วจอภาพที่อาศัยหลักการยิงแสงอิเล็กตรอนให้เกิดภาพทุกจอ มีการกระจายรังสีเท่ากันไม่ว่าจะเป็น โทรทัศน์ หรือจอ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) แต่การชม โทรทัศน์นั้นมักจะชมกันอยู่ในระยะที่ไกล จึงทำให้ได้รับรังสีน้อย และแทบจะไม่มีผลกระทบมากนัก แต่จอภาพที่ใช้งานกับคอมพิวเตอร์นั้น การใช้ งานส่วนใหญ่จะอยู่ในระยะที่ใกล้ โอกาสที่จะได้รับรังสีจึงมีมากกว่าปกติ แต่สำหรับจอภาพแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) นั้นการกระจายของรังสีนั้นมีน้อยกว่า จอภาพ แบบ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) ดังนั้นโอกาสที่จะได้รับผลกระทบจากรังสีจึงน้อยตามมา ซึ่งก็ช่วยให้สายตา และสุขภาพของผู้ใช้งานได้รับอันตรายจากการใช้งาน คอมพิวเตอร์ได้น้อยลง
ประหยัดพลังงานข้อนี้เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าจอภาพแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) นั้นใช้พลังงานที่น้อยกว่า จอภาพ แบบ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) ถึง 50%-60% ยิ่งถ้าในองค์ที่มีการใช้งานเครื่อง คอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมาก การใช้งาน จอภาพ แบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) จะเป็นการช่วยลดรายจ่ายในเรื่องของค่าไฟฟ้าในระยะยาวได้เป็นอย่างมาก และก็ถือ เป็นการประหยัดการใช้งานพลังงานไฟฟ้าได้เป็นอย่างมาก
ราคา สำหรับในข้อนนี้นั้น จอภาพ แบบ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) คงจะได้เปรียบอยู่มากเนื่องจากจอภาพแบบ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) นั้นราคาถูกกว่าจอภาพแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) อยู่มาก เมื่อ เปรียบเทียบในขนาดของจอภาพเดียวกัน ดังนั้นผู้ซื้อส่วนใหญ่มักจะเลือกซื้อจอภาพแบบ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) กันเป็นส่วนมาก ถึงแม้จอ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) จะมี ประสิทธิภาพในการใช้งานที่มากกว่า แต่ราคามักจะเป็นสิ่งที่กำหนด และมีผลในการตัดสินใจในการซื้ออยู่มาก
จากที่กล่าวมานั้นก็น่าที่จะทำให้การเลือกซื้อจอภาพแบบแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) นั้นสามารถทำได้ง่ายขึ้น ซึ่งน่าจะทำให้ผู้ที่ต้องการจะเลือกซื้อจอภาพแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) มาใช้งานนั้นสามารถที่จะเลือกซื้อจอภาพที่เหมาะสมกับตัวผู้ใช้งาน และสามารถที่จะใช้งานได้ถึงประสิทธิภาพสูงสุดของจอภาพ และถึงแม้จอภาพแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) ยังมีราคาที่แพงกว่าจอภาพ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) อยู่มากนั้นแต่ประสิทธิภาพ และประโยชน์ที่จะได้รับจากจอภาพแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) นั้นก็มีไม่น้อยถ้าจะตั้งงบในการเลือกซื้อจอภาพ มากขึ้นสักหน่อย ก็เป็นเรื่องที่ดีและสมควรเป็นอย่างยิ่ง เพราะอย่าลืมว่า การใช้งานที่ภาพที่ไม่เมาะสมกับงานที่ทำ หรือการตั้งค่าที่ผิดไป ผลเสียในจะมีต่อผู้ใช้ โดยตรง ซึ่งย่อมเป็นสิ่งที่ไม่คุ้มค่าเลยแม้แต่น้อย จึงอยากจะให้ผู้ที่ต้องการจะเลือกซื้อจอภาพมาใช้งานนั้นเลือกซื้อจอภาพที่ดีมีคุณภาพ และเหมาะสมกับผู้ใช้ใหม่ มากที่สุด ซึ่งผลงานที่ได้ออกมานั้นก็จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดตามมาเหมือนกัน ..
วันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น